เหรียญสมเด็จพระสังฆราชจวน
70 พรรษา
บูรณะพระเจดีย์ ปี2511 ครบ 100 ปี วัดมกุฏฯ พิธีใหญ่ ร.9 เททอง
เหรียญสมเด็จพระสังฆราชจวน
บูรณะพระเจดีย์ ปี2511 ครบ 100 ปี วัดมกุฏฯ พิธีใหญ่ พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ร่วมปลุกเสก เนื้อทองคำ ทรงวงรี หนัก 10.86 กรัม ขนาดเหรียญ กว้าง 2.2 ซม. สูง 3.0 ซม.
วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
พระอารามหลวงชั้นเอกมีอายุครบ ๑๐๐ ปี แห่งการสถาปนา ในวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๑
ประกอบกับ สมเด็จพระสังฆราชฯ (จวน) ทรงเจริญพระชนมายุ ๗๐ พรรษา ในวันที่ ๑๖ มกราคม
พ.ศ.๒๕๑๑
วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
พระอารามหลวงชั้นเอกมีอายุครบ ๑๐๐ ปี แห่งการสถาปนา ในวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๑
ประกอบกับ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชฯ (จวน) ทรงเจริญพระชนมายุ ๗๐ พรรษา
ในวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๑
ทางคณะกรรมการจัดงานฉลองจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติ
จัดงานฉลองศุภวาระมหามงคลวโรกาสทั้ง ๒ วาระเป็นงานเดียวกันระหว่าง วันที่ ๑๕-๑๘
มกราคม พ.ศ.๒๕๑๑
โดยคณะกรรมการมีมติว่าใน “ศุภวาระมงคลวโรกาส” ดังกล่าวจึงควรจัดสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบ
พระพุทธรูป - พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ - เหรียญ สำหรับเป็นที่ระลึกและเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ศิษยานุศิษย์
ตลอดจนผู้เคารพนับถือทั่วไปมีไว้สักการบูชา
โลหะที่จะนำมาจัดสร้างวัตถุมงคล
คณะกรรมการมีแนวคิดว่าด้วยเหตุที่ วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นวัดที่ พระมหากษัตริย์
ทรงสร้างเป็นพระอารามหลวง และมีอายุการสร้างมายาวนานถึง ๑๐๐ ปี ประกอบกับ “สมเด็จพระสังฆราชฯ (จวน)” เจ้าอาวาสในขณะนั้นทรงเจริญพระชนมายุ ๗๐ พรรษา
อีกทั้งวัดมกุฏกษัตริยารามยังมิเคยจัดสร้างวัตถุมงคล
เพื่อเป็นที่ระลึกทั้งในส่วนของพระอารามหรือส่วนพระองค์เลย ดังนั้นการจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้จึงนับเป็นการสร้าง “ครั้งหนึ่งครั้งเดียว” จึงควรแสวงหา “โลหะวัตถุที่ดี ที่สุด” ในขณะนั้นมาเป็นเนื้อหาการจัดสร้าง พระคณาจารย์ทั่วราชอาณาจักรกว่า
๕๐๐รูป ยินดีถวายโลหะวัตถุที่ได้ปลุกเสกไว้แล้ว รวมทั้งถวายแผ่นโลหะชนิดต่าง ๆ
ที่มีการลงอักขระยันต์มาเป็นส่วนผสมอีกด้วย
เพื่อให้วัตถุมงคลที่จัดสร้างครั้งนี้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกประการ
ซึ่งหลังจากรวบรวมโลหะวัตถุและแผ่นโลหะที่ลงอักขระยันต์ได้ตามจำนวนที่ต้องการแล้ว
คณะกรรมการจัดสร้างได้นำมาประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารวัดมกุฏกษัตริยารามก่อน
จากนั้นจึงนำไปประกอบพิธีเททองเฉพาะ “พระพุทธรูป” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” และนำเหรียญมาปลุกเสก ณ มณฑลพิธี
หน้าพระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม
พิธีเททองครั้งแรก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันอังคารที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๑๐ เวลา ๑๓.๑๕ น.
โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิต
- หลวงปู่นาค
วัดระฆังฯ
- หลวงปู่เฮี้ยง
วัดป่า จ.ชลบุรี
- หลวงพ่อเงิน
วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
- หลวงพ่อเจียง
วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม
- หลวงพ่อฑูรย์
วัดโพธิ์นิมิตร
-หลวงพ่อเกลี้ยง
วัดเฉลิมอาสน์ จ.ราชบุรี
- หลวงพ่ออั้น
วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา
- หลวงพ่อถิร
วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
- พระอาจารย์ทิม
วัดช้างให้ จ.ปัตตานี เป็นต้น.
โดยพิธีการจัดสร้างเป็นปฐมฤกษ์นั้นจะมีเพียง “พระพุทธรูป” และ “พระกริ่ง"
ส่วน “พระชัยวัฒน์” เป็นพิธีกรรมการจัดสร้างที่เรียกว่า “พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่สอง” โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชฯ
(จวน) ทรงเป็นองค์ประธานในการเททองหล่อด้วยพระองค์เอง
ซึ่งเป็นการหล่อสืบเนื่องจากที่เสด็จพระราชดำเนินหล่อ “พระพุทธวชิรมงกุฎ” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฎ” โดย “พระพุทธวชิรมงกุฎ” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฎ” ที่หล่อเสร็จแล้วล่วงหน้าทางคณะกรรมการได้นำมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งที่สองนี้
อีกด้วย
พิธีเททองครั้งที่สองนี้
ได้จัดประกอบพิธีในพระวิหาร วัดมกุฏกษัตริยาราม ถึงสามวันสามคืน
ระหว่างวันอังคารที่ ๙ ถึง
วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๑๑
โดยสมเด็จพระสังฆราชฯ
(จวน) ทรงจุดเทียนชัยเวลา ๑๕.๒๑ น. ในวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๑ แล้วเสด็จออกเททองหล่อ “พระชัยวัฒน์วชิรมงกุฏ” ในเวลา ๑๕.๒๙ น. มีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญพุทธาภิเษก อาทิ
- หลวงปู่นาค
วัดระฆังฯ กทม.
- หลวงพ่อถิร
วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
- หลวงพ่อเส่ง
วัดกัลยา กทม.
- หลวงพ่อแต้ม
วัดพระลอยสุพรรณบุรี
- พระอาจารย์ฝั้น
อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร
- หลวงพ่อโด่
วัดนามะตูมชลบุรี
- หลวงปู่สิม
วัดถ้ำผาปล่องเชียงใหม่
- หลวงพ่อพุธ
ฐานิโย วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา
- หลวงตามหาบัว
วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี
- หลวงปู่เฮี้ยง
วัดป่าฯ ชลบุรี
- หลวงพ่อเนื่อง
วัดจุฬามณี สมุทรสาคร
- หลวงปู่เทียม
วัดกษัตราธิราช พระนครศรีอยุธยา
- พระอาจารย์ทิม
วัดช้างให้ปัตตานี เป็นต้น
ชนวนโลหะสุดยอด
เนื่องจากวัดมกุฎกษัตริยาราม
เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างเป็นพระอารามหลวง
มีอายุยั่งยืนมาหลายปี
ยังไม่เคยสร้างของที่ระลึกเป็นส่วนพระอารามหรือส่วนพระองค์เลย
การสร้างในครั้งนี้จึงเป็นครั้งหนึ่งครั้งเดียวเท่านั้น
จึงได้เสาะแสวงหาเนื้อชนวนโลหะที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้
ซึ่งบรรดาเจ้าคณะและเจ้าอาวาส พร้อมทั้งพระเกจิอาจารย์ทั่วราชอาณาจักรกว่า 500 องค์
จึงยินดีถวายโลหะที่ปลุกเสกไว้แล้วและเป็นส่วนที่ยังเหลืออยู่
หรือที่ลงอักขระยันต์ในแผ่นโลหะถวายให้เพื่อเป็นส่วนผสมใหม่
โดยประสงค์จะให้พระที่สร้างขึ้นในครานี้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกประการ
และการสัตยาธิษฐาน
แผ่นโลหะที่ลงคาถาอาคมเลขยันต์ ซึ่งนำมาเป็นส่วนผสมในการหล่อหลอมเป็น
"พระวชิรมงกุฏ" และเหรียญรูปพระสังฆราชในครั้งนี้
พระเถระและพระเกจิอาจารย์ได้ตั้งสัตยาธิษฐานให้เกิดคุณานุภาพต่างๆ ดังนี้
1. เพื่อให้เป็นมหาอุต
2. เพื่อให้แคล้วคลาด
3. เพื่อให้อยู่ยงคงกระพัน
4. เพื่อให้คุ้มกันอันตราย
5. เพื่อให้มีเมตตามหานิยม
6. เพื่อให้มีโชคลาภ
7. เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคล
8. เพื่อให้เกิดชนะศัตรู
9. เพื่อให้แล้วแต่อธิษฐาน
***ของดีวัดมกุฎกษัตริยารามราชวรวิหาร***
ในจำนวนวัตถุมงคลตามทำเนียบของวัดมกุฎฯ
แล้วนั้น สายของสมเด็จพระสังฆราช (จวน) อดีตสมเด็จพระสังฆราช
จะได้รับความนิยมค่อนข้างจะกว้างขวาง แต่ก็ไม่ค่อยมีของให้หมุนเวียนมาก
เหตุเพราะพระองค์จะอนุญาตให้จัดสร้างได้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
(สายธรรมยุตนิกาย) แม้ว่าเหรียญในทำเนียบของท่านเองก็มีอยู่หลายรุ่น
แต่เหรียญบูรณะเจดีย์ ปี 2511 ก็เป็นหนึ่งในเหรียญนิยม
เพราะคณาจารย์ทั่วประเทศจารแผ่นทองถวายเป็นโลหะชนวนและมีผู้นำชนวนพระกริ่งมากมายมาถวายเพื่อร่วมสร้างเหรียญรุ่นนี้
พร้อมผ่านพิธีปลุกเสกอันยิ่งใหญ่ของวัด
โดยได้นิมนต์พระคุณเจ้าร่วมสมัยหลายรูปมาร่วมพิธีเช่น ลพ.เงิน วัดดอนยายหอม ลพ.เต๋
วัดสามง่าม
โดยพระองค์ทรงเป็นประธานและได้มอบให้กับผู้ร่วมสมทบทุนบริจาคทรัพย์ในกาลนั้น
เหรียญสมเด็จสังฆราชจวน
วัดมกุฎกษัตริยารามราชวรวิหาร สร้างปี 2511 พิธีปลุกเสกพร้อมกับพระกริ่งวชิรมกุฎ
เป็นพิธีพุทธาภิเษกที่ใหญ่มากเพราะปลุกเสกกันถึง 9 วัน 9 คืน สำหรับพิธีเททองหล่อพระกริ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙) ทรงมาดำเนินการเททองเอง
ส่วนการปลุกเสกมียอดพระคณาจารย์ที่เก่งๆมากมาย มาร่วมงานนี้กันอย่างคับคั่ง เช่น
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ หลวงพ่อเทียม หลวงพ่อกี๋ หลวงพ่อนอ หลวงปู่นาค วัดระฆัง
หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว หลวงพ่อเฮี้ยง
วัดป่า หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อน้อย เป็นต้น ตอนนี้คนรู้ประวัติของพระชุดนี้กันมาก
ทำให้ปัจจุบันพระชุดนี้มีคนเก็บเข้ารังกันหมดโดยเฉพาะพระกริ่งวชิรมกุฎ
ที่ถูกจัดอยู่ในทำเนียบพระที่เกี่ยวข้องกับในหลวงรัชกาลที่ ๙