อาณาจักรเหรียญกษาปณ์ทองคำ

เหรียญร.5 สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เนื้อทองคำขัดเงา 18กรัม ปี2536 พิธีใหญ่ วัดบวรนิเวศ

฿50,000.00 ฿40,000
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานในพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จัดสร้างโดยกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์
ซื้อเลย
หยิบลงตะกร้า
  • หมวดหมู่ : เหรียญเสด็จปู่ ร.5
  • รหัสสินค้า : 001411

รายละเอียดสินค้า เหรียญร.5 สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เนื้อทองคำขัดเงา 18กรัม ปี2536 พิธีใหญ่ วัดบวรนิเวศ

เหรียญร.5 สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เนื้อทองคำขัดเงา 18กรัม ปี2536 พิธีใหญ่ วัดบวรนิเวศ 

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานในพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จัดสร้างโดยกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์

 เหรียญรัชกาลที่5 รุ่นสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ครบรอบ 100 ปี วัดบวรนิเวศ ปี 2536 เป็นวัตถุมงคลที่จัดสร้างในนามวัดบวรนิเวศ และได้จัดทำเนียบอยู่ในหนังสือพระเครื่องของวัดบวรนิเวศปกแข็ง ที่หน้าปกเป็นรูปพระไพรีพินาศ  มีพิธีมหาพุทธาภิเษกใหญ่โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธาน และมีพระเกจิดังๆมาร่วมพิธีปลุกเสกมากมาย เช่น หลวงพ่อหยอด หลวงพ่อม่น หลวงพ่ออุตตมะ หลวงพ่อทิม เป็นต้น

  เหรียญลักษณะกลม ขนาด 30มิลลิเมตร

  เนื้อโลหะ ทองคำ ร้อยละ 90เงิน ร้อยละ 3ทองแดง ร้อยละ 7

  จำนวนการผลิต 581 เหรียญ

ประวัติการก่อตั้ง

   มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต งานวิจัย งานบริการ วิชาการแก่ชุมชน และงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้งวิทยาลัยขึ้นในบริเวณวัดบวรนิเวศวิหาร พระราชทานนามว่า มหามกุฏราชวิทยาลัยโดยมีพระราชประสงค์เพื่อเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร ทรงอุทิศพระราชทรัพย์บำรุงประจำปีและก่อสร้างสถานศึกษาวิทยาลัยแห่งนี้ขึ้น ครั้นเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาเปิดมหามกุฏราชวิทยาลัย พระองค์ทรงรับมหามกุฏราชวิทยาลัยอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์บำรุงประจำปี อาศัยพระราชประสงค์ดังกล่าว สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงทรงตั้งวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจการของ มหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้น ๓ ประการ คือ

       ๑. เพื่อเป็นสถานศึกษาของพระภิกษุสามเณร 
      
๒. เพื่อเป็นสถานศึกษาวิทยาการอันเป็นของชาติภูมิและของต่างประเทศ 
      
๓. เพื่อเป็นสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา