พระกริ่งไพรีพินาศ ญสส.มูลนิธิพิทักษ์ดวงตา ร.9 ครองราชย์50ปี
เนื้อทองคำ99.99% นิยมและสวยมาก
องค์พระกริ่ง หนัก 15.24 กรัม ขนาดกว้าง 1.5 ซม. สูง 2.7 ซม. หมายเลขประจำองค์พระ พ๑๖ ซึ่งเป็นองค์กรรมการ
มูลนิธิพิทักษ์ดวงตาประชาชน จัดสร้างพระกริ่งไพรีพินาศ (ญสส)
เนื้อทองคำ 99.99% จำนวน 2,000องค์
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ประทานอนุญาตพระนามย่อประดิษฐานองค์พระ และทรงพระเมตตาประทานเงินจัดสร้างจำนวน 300,000 บาท
และในปลายปี พ.ศ. 2540 ทรงประทานเงินอีกจำนวน 50,000 บาท
พิธีพุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
จัดสร้างในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี
เพื่อนำรายได้ไปจัดซื้อเลนส์แก้วตาเทียมและทำการ่าตัดโรคตาต้อกระจกแก่ผู้ป่วยที่ยากไร้ในถิ่นทุรกันดาร
จำนวน 50 โรงพยาบาลๆละ 50 ดวงตา ในปี2539
ผลิตโดย บริษัทแพรนด้า
จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) โดยบริษัทพรีม่า โกลด์
"พระไพรีพินาศ"
เป็นพระนามของพระพุทธรูป ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ
เก๋งบนชั้นสองของพระเจดีย์ใหญ่วัดบวรนิเวศ วิหาร กรุงเทพฯ
เป็นพระศาลาแกะที่มีชนาดย่อม หน้าตักกว้าง 33 ซม.
และมีความสูงถึงปลายรัศมี 53 ซม.
สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงมีพระวินิจฉัยในสาสน์สมเด็จว่า"พระไพรีพินาศเป็นพระพุทธรูปแบบมหายานปางประทับ
นั่งประทานอภัย กล่าวคือ
มีพระพุทธลักษณะเหมือนพระปางมารวิชัยหัตถ์ขวาที่วางอยู่บนพระชานุขี้น"
พระไพรีพินาศองค์นี้มีผู้นำมาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งขณะนั้นยังทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศ วิหาร
และอยู่ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระไพรีพินาศองค์นี้ทรงแสดงอภินิหารให้ปรากฏอริราช ศัตรูที่คิดปองร้าย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต่างมีอันเป็นไป และพ่ายแพ้ภัยตนเอง
พระองค์จึงโปรดให้ถวาย พระนามของพระพุทธ รูปองค์สำคัญนี้ว่า
"พระไพรีพินาศ" โดยมีหลักฐานเป็นกระดาษพับสอดไว้ใต้ฐานมีอักษรเขียนว่า
"พระสถูปเจดีย์ศิลาบัลลังก์องค์ จงมีนามว่าพระไพรีพินาศ ตตเทอญ"
และอีกด้านเขียนว่า "เพราะตั้งแต่ทำมาแล้ว
คนไพรีก็วุ่นวายยับเยินไปโดยลำดับ" หลักฐานดังกล่าวได้ค้นพบเมื่อวันจันทร์ที่
30 พฤศจิกายน พ.ศ.2507 ระหว่างซ่อมแซมพระเจดีย์ 96 ปี
วัดบวรนิเวศวิหาร
มูลนิธิพิทักษ์ดวงตาประชาชน
เมื่อปี พ.ศ. 2529 พลตรีกวี
คัมภีรญาณ รองผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ กองบัญชาการทหารสูงสุด
กระทรวงกลาโหม ได้รับการผ่าตัดจอประสาทตาลอกที่ตาข้างขวาในโรงพยาบาลราชวิถี
โดยแพทย์หญิงโสมสราญ วัฒนะโชติ เป็นผู้ให้การรักษา จากตาที่เริ่มจะบอดสนิท
สามารถนับนิ้วมือได้ในระยะ 2 - 3 ฟุต จนกลับมีสายตาเป็นปกติ
และในระหว่างที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลราชวิถีนั้น
ท่านได้เห็นความทุกข์ยากของผู้ป่วยที่ยากจน
รวมทั้งความยากลำบากของแพทย์พยาบาลที่รักษาคนไข้ด้วยงบประมาณที่ไม่เพียงพอ จึงได้รวบรวมเงินของท่าน
และเพื่อน ๆ โดยเฉพาะจากท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม และคุณสินธู ศรสงคราม
ได้จำนวนเงิน 305,500 บาท มอบให้แก่แพทย์หญิงโสมสราญ วัฒนะโชติ
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเครื่องมือผ่าตัดจอประสาทตาลอก
แต่เนื่องจากเครื่องมือที่ต้องการในขณะนั้นได้รับการบริจาคจากองค์การ CBM
(Christian Blinden Mission) ประเทศเยอรมันตะวันตกเสียก่อน
เงินจำนวนนี้จึงได้นำมาเป็นเงินกองทุนจัดตั้งมูลนิธิชื่อว่า “มูลนิธิพิทักษ์ดวงตาราชวิถี” โดยมีนายแพทย์สาโรจน์
อรรถวิภัชน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถีเป็นประธานกรรมการ และอาจารย์สมบัติ
รูปประดิษฐ์ เป็นรองประธานกรรมการฝ่ายจัดหาทุน
มูลนิธิฯ
ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2532 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ในเบื้องแรกมูลนิธิฯ มีสำนักงานตั้งอยู่ในโรงพยาบาลราชวิถี
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามูลนิธิฯ ได้ดำเนินการช่วยเหลือแก้ไขสภาพตาบอดจากต้อกระจก
และโรคตาอื่น ๆ แก่ประชาชนที่มีฐานะยากจน
ตลอดจนสนับสนุนการวิจัยด้านการแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านจักษุวิทยา
เพื่อให้ประชาชนมีสายตาที่ดีและเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต มูลนิธิฯ
ได้ร่วมทำการวิจัยกับองค์การออร์บิช นิวยอร์ค - แคนาดา มูลนิธิฯ เลออนฮาร์ด
และคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาวิจัยสถิติผู้ป่วย
เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการผ่าตัดต้อกระจก
ระหว่างการผ่าตัดแบบลอกต้อกระจกออกแล้วใส่แว่นตา(ICCE) กับการผ่าตัดลอกต้อกระจกออกแล้วใส่เลนส์ตาเทียม(ECCE) พบว่าการผ่าตัดด้วยวิธีหลัง
คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าอย่างมีนัยสัมพันธ์ที่ชัดเจน มูลนิธิฯ
จึงใช้การรักษาต้อกระจกด้วยการผ่าตัดลอกต้อกระจกออกแล้วใช้เลนส์ตาเทียมเป็นหลักมาตลอดจนถึงปัจจุบัน
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การบริการประชาชนด้านโรคตาเป็นไปโดยกว้างขวางและแพร่หลาย
มูลนิธิฯได้เรียนเชิญบุคคลจากสาขาอาชีพต่าง ๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการมูลนิธิฯ
และได้เปลี่ยนชื่อมูลนิธิฯ โดยใช้ชื่อว่า “มูลนิธิพิทักษ์ดวงตาประชาชน” จากการสนับสนุนและเอื้อเฟื้อของโรงพยาบาลกรุงเทพ
ให้สถานที่ในศูนย์จักษุ ณ.อาคารใหม่เป็นสำนักงานของมูลนิธิฯจึงย้ายมายัง เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย
7 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ