อาณาจักรเหรียญกษาปณ์ทองคำ

เหรียญสมเด็จพระพุทธชินสีห์ หลัง ญสส. ปี36 ฉลอง 80 ชันษาสมเด็จญาณ พิมพ์เล็ก เนื้อทองคำ พร้อมกล่อง

SOLD OUT
฿0.00
พิธีพุทธาภิเษก วันที่ 23 สิงหาคม 2536 ณ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย
  • หมวดหมู่ : เหรียญพระพุทธ
  • รหัสสินค้า : 001622

รายละเอียดสินค้า เหรียญสมเด็จพระพุทธชินสีห์ หลัง ญสส. ปี36 ฉลอง 80 ชันษาสมเด็จญาณ พิมพ์เล็ก เนื้อทองคำ พร้อมกล่อง

เหรียญสมเด็จพระพุทธชินสีห์ หลัง ญสส. ปี36 พิมพ์เล็ก เนื้อทองคำ ฉลอง 80 ชันษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จสังฆราช พร้อมกล่อง  ขนาด กว้าง 1.7 ซม. สูง 2.5 ซม. นน.ทองคำ 17.63 กรัม หายากมากครับ ใต้เหรียญตอกโค๊ด เลข๘๐ ลายเซนต์พระนามย่อ และพระนามเต็ม ของสมเด็จญาณ สมเด็จสังฆราช

พิธีพุทธาภิเษก วันที่ 23 สิงหาคม 2536 ณ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย

 

     พระพุทธชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญพระองค์หนึ่งของหัวเมืองฝ่ายเหนือ สร้างขึ้นคราวเดียวกันกับพระพุทธชินราช และพระศรีศาสดา ได้ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารด้านเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกมาแต่ต้น ต่อมาพระวิหารชำรุดทรุดโทรมลง ขาดการปฏิสังขรณ์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2372

 

ตำนานการสร้าง

      การสร้างพระ พุทธรูปทั้ง 3 พระองค์ ของเมืองพิษณุโลก มีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง แล้วทรงหล่อพระพุทธรูป 3 องค์ ได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธชินราช ณ พระวิหารใหญ่ ทิศตะวันตกของ พระพุทธชินสีห์ประดิษฐาน ณ พระวิหารใหญ่ ทิศใต้และ พระศรีศาสดาประดิษฐาน ณ พระวิหารใหญ่ทางทิศเหนือ จึงประดิษฐานอยู่ในวิหารเดียวกันตลอดมา ถึง 900 กว่าปี จนกระทั่งมีการอัญเชิญลงมากรุงเทพฯ

 

     พระพุทธชินสีห์ แต่เดิมประดิษฐานไว้มุขหลังของพระอุโบสถของวัดบวรนิเวศวิหาร ที่เป็นจตุรมุข ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยเมื่อยังทรงผนวช และครองวัดบวรนิเวศวิหารอยู่ ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาเป็นพระประธานในพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคารพนับถือพระพุทธชินสีห์มาก ได้โปรดให้กะไหล่รัศมีองค์พระด้วยทองคำ ฝังพระเนตรฝังเพชรที่พระอุณาโลม แล้วปิดทองทั้งองค์พระ เมื่อ พ.ศ. 2393 ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2397 ได้โปรดให้หล่อฐานด้วยทองสัมฤทธิ์ ปิดทองใหม่ทั้งองค์พระและฐาน แล้วให้มีการสมโภช 5 วัน