อาณาจักรเหรียญกษาปณ์ทองคำ

รูปหล่อพระพุทธชินราช ภ.ป.ร. 6รอบในหลวง เนื้อทองคำ99% พิมพ์กลาง โดยมูลนิธิพิทักษ์ดวงตาฯ พร้อมกล่อง

฿39,000.00 ฿32,000
พุทธาภิเษก ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 โดยพระคณาจารย์ทั่วประเทศ 399 รูป
ซื้อเลย
หยิบลงตะกร้า
  • หมวดหมู่ : พระกริ่ง-พระรูปหล่อ
  • รหัสสินค้า : 001633

รายละเอียดสินค้า รูปหล่อพระพุทธชินราช ภ.ป.ร. 6รอบในหลวง เนื้อทองคำ99% พิมพ์กลาง โดยมูลนิธิพิทักษ์ดวงตาฯ พร้อมกล่อง

รูปหล่อพระพุทธชินราช ภ.ป.ร. 6รอบในหลวง เนื้อทองคำ99% พิมพ์กลาง โดยมูลนิธิพิทักษ์ดวงตาประชาชน พร้อมกล่อง

ขนาดองค์พระ กว้าง 1.3 ซม. สูง 2.4 ซม. หนัก 10 กรัม

วัตถุประสงค์การจัดสร้าง เพื่อจัดซื้อเลนส์แก้วตาเทียมมอบแก่โรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ 76 จังหวัดๆละ 72 ดวงตา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ มูลนิธิพิทักษ์ดวงตาประชาชน จัดสร้าง พระพุทธชินราช จำลอง ในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมายุ 6 รอบ (72 พรรษา) 5 ธันวาคม 2542

  โดย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์โสมสวลี พระวรราชาทินัดถามาตุ เสด็จทรงเป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 โดยพระคณาจารย์ทั่วประเทศ 399  รูป

  ออกแบบและผลิตโดย บริษัท ซิกม่า ดีไซน์ จำกัด สนับสนุนโดย บริษัท แอล พี เอ็น แพลทมิล จำกัด(มหาชน) และบริษัทในเครือ

ประวัติความเป็นมาของมูลนิธิพิทักษ์ดวงตาประชาชน

  พ.ศ. 2529 พลตรีกวี คัมภีรญาณ รองผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม ได้รับการผ่าตัดจอประสาทตาลอกที่ตาข้างขวาในโรงพยาบาลราชวิถี โดยแพทย์หญิงโสมสราญ วัฒนะโชติ จากตาที่เริ่มจะบอดสนิท สามารถนับนิ้วมือได้ในระยะ 2 - 3 ฟุต ในที่สุดกลับมีสายตาเป็นปกติ ระหว่างที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลราชวิถี  ท่านได้เห็นความทุกข์ยากของผู้ป่วยที่ยากจน รวมทั้งความยากลำบากของแพทย์พยาบาลที่รักษาคนไข้ด้วยงบประมาณที่ไม่เพียงพอ จึงได้รวบรวมเงินของท่าน และเพื่อน ๆ โดยเฉพาะจากท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม และคุณสินธู   ศรสงคราม ได้จำนวนเงิน 305,500 บาท มอบให้แก่แพทย์หญิงโสมสราญ วัฒนะโชติ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเครื่องมือผ่าตัดจอประสาทตาลอก แต่เนื่องจากเครื่องมือที่ต้องการในขณะนั้นได้รับการบริจาคจากองค์การ CBM (Christian Blinden Mission) ประเทศเยอรมันตะวันตกเสียก่อน เงินจำนวนนี้จึงได้นำมาเป็นเงินกองทุนจัดตั้งมูลนิธิชื่อว่า มูลนิธิพิทักษ์ดวงตาราชวิถีมีนายแพทย์สาโรจน์ อรรถวิภัชน์   ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถีเป็นประธานกรรมการคนแรก อาจารย์สมบัติ รูปประดิษฐ์ เป็นรองประธานกรรมการฝ่ายจัดหาทุน ท่านสัญญาบริจาคให้อย่างต่ำเดือนละ 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน)

      มูลนิธิฯ ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นทางการ  เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2532 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ    มีสำนักงานตั้งอยู่ในโรงพยาบาลราชวิถี         ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามูลนิธิฯ  ได้ดำเนินการช่วยเหลือแก้ไขสภาพตาบอดจากต้อกระจก และโรคตาอื่น ๆ แก่ประชาชนที่มีฐานะยากจน ตลอดจนสนับสนุนการวิจัยด้านการแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านจักษุวิทยา เพื่อให้ประชาชนมีสายตาที่ดีและเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต มูลนิธิฯ ได้ร่วมทำการวิจัยกับองค์การออร์บิช นิวยอร์ค - แคนาดา มูลนิธิฯ เลออนฮาร์ด และคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาวิจัยสถิติผู้ป่วย เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการผ่าตัดต้อกระจก ระหว่างการผ่าตัดแบบลอกต้อกระจกออกแล้วใส่แว่นตา    ( ICCE )      กับการผ่าตัดลอกต้อกระจกออกแล้วใส่เลนส์ตาเทียม ( ECCE )  พบว่าการผ่าตัดด้วยวิธีหลัง คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าอย่างมีนัยสัมพันธ์ที่ชัดเจน มูลนิธิฯจึงใช้การรักษาต้อกระจกด้วยการผ่าตัดลอกต้อกระจกออกแล้วใช้เลนส์ตา เทียมเป็นหลักมาตลอดจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การบริการประชาชนด้านโรคตาเป็นไปโดยกว้างขวางและ แพร่หลาย  มูลนิธิฯได้เรียนเชิญบุคคลจากสาขาอาชีพต่าง ๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการมูลนิธิฯ  และได้เปลี่ยนชื่อมูลนิธิฯ โดยใช้ชื่อว่า มูลนิธิพิทักษ์ดวงตาประชาชนจากการสนับสนุนและเอื้อเฟื้อของโรงพยาบาลกรุงเทพ ให้สถานที่ในศูนย์จักษุ ณ.อาคารใหม่เป็นสำนักงานของมูลนิธิฯจึงย้ายมายัง เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ 10310         ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้อนุญาตการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง  เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม  2537  นายพิพัฒน์  ปรีดาวิภาต  เป็นประธานกรรมการ และ นายสมบัติ  รูปประดิษฐ์   เป็นรองประธานฝ่ายจัดหาทุน

 

  วันที่ 16 สิงหาคม 2538 กระทรวงการคลังได้ประกาศตามประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 34 กำหนดให้มูลนิธิพิทักษ์ดวงตาประชาชน เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามมาตรา 47 (ก)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นองค์การสาธารณกุศลลำดับที่ 279 ดังนั้นเงินค่าบริจาคที่ให้กับมูลนิธิพิทักษ์ดวงตาประชาชน จึงนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้ได้ตามกฎหมาย

 

  วันที่ 1 สิงหาคม 2550 กรมสรรพสามิต ได้พิจารณาประกาศกำหนดให้มูลนิธิฯ เป็นองค์การสาธารณกุศล ตามมาตรา 102 (1) (2) แห่งพระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527  และมาตรา 102 ทวิ (1) (2) แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2549 ลำดับที่ 83

 

เครดิตจากเวบ http://www.pecf.or.th/about1-th.html