พระกริ่งนิรันตราย เนื้อนวะโลหะ มูลนิธิโรงพยาบาลตำรวจ จัดสร้าง สมเด็จพระเทพฯ ทรงเททอง เดิมๆพร้อมกล่องและใบเซอร์ No.1367 สร้าง 25,540 องค์
ขนาด หน้าตัก 1.8 ซม. สูง 3.5 ซม.
พิธีพุทธาภิเษก พระนิรันตราย "จำลอง" ณ วัดบวรฯ เกจิอาจารย์ ทั่วประเทศร่วมพิธี
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 27 กันยายน 2555 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีบวงสรวงบูชาฤกษ์ พิธีมหาพุทธาภิเษก พระนิรันตราย (จำลอง) ณ พระอุโบสภ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร มี พระมหาเถราจารย์ 255 รูป จากทั่วประเทศไทย ร่วมพิธีฯ
พล.ต.ท.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า การจัดสร้าง พระนิรันตราย (จำลอง) ครั้งนี้ นับเป็นมหากุศลในการร่วมทำบุญครั้งยิ่งใหญ่ที่ทุกฝ่ายต่างร่วมมือร่วมใจกัน เพื่อให้บังเกิดผลแห่งความสำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ และจะสามารถให้เหล่าพี่น้องข้าราชการตำรวจ และประชาชนทุกคนเข้าถึงการรักษาพยาบาลตามหลักทางการแพทย์ที่ทันสมัยได้อย่างครบถ้วนและทั่วถึง ซึ่งไม่มีบุญใดที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่านี้อีกแล้ว
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และมูลนิธิโรงพยาบาลตำรวจ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จึงขอเชิญชวน ร่วมบริจาคเงินสมทบทุนสร้างอาคารบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจ และ จัดหาครุภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์ ประจำอาคารบริการทางการแพทย์ 20 ชั้น เพื่อรองรับการให้บริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพแก่ ตำรวจ และประชาชน
โดยร่วมบูชาพระนิรันตราย (จำลอง) ประกอบด้วย พระนิรันตราย หน้าตัก 9 นิ้ว เนื้อทองเหลือง (ปิดทอง) 2,555 องค์ บริจาคองค์ละ 99,999 บาท เนื้อทองเหลือง (รมดำ) 2,555 องค์ บริจาคองค์ละ 39,999 บาท พระกริ่งนิรันตราย หน้าตัก 1.8 ซม. สูง 3.5 ซม. เนื้อทองคำ 2,555 องค์ บริจาคองค์ละ 99,999 บาท เนื้อนวโลหะ 25,540 องค์ บริจาคองค์ละ 9,999 บาท เนื้อสัมฤทธิ์ 255,400 องค์ บริจาคองค์ละ 999 บา
ประวัติ พระนิรันตราย
พระนิรันตราย (องค์เดิม)
พระพุทธรูปศิลปะแบบทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ ขนาดหน้า ตักกว้าง ๖ ซม. องค์พระสูง ๘.๒๐ ซม. วัสดุทองคำ ประทับนั่งแบบปรยัง กาสนะ ข้อพระบาทไขว้กันอย่างหลวมๆ แสดงธยานะมุทราโดยพระหัตถ์ขวา ช้อนเหนือพระหัตถ์ซ้าย พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงเป็นเส้นติดต่อกัน ค ล้ายปีกกา พระเนตรเหลือบต่ํ า พระนาสิกป้าน พระโอษฐ์ค่อนข้างกว้าง พระกรรณยาวเกือบจรดพระอังสะ พระเศียรประกอบด้วยขมวดพระเกศา มีเกตุมาลาอยู่เบื้องบนปราศจากรัศมี องค์พระพุทธรูปครองอุตราสงค์เรียบ ไม่มีริ้วห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ขอบอุตราสงค์พาดผ่านข้อพระกรซ้าย พระพุทธรูปประทับนั่งบนปัทมาสน์มีกลีบบัวคว่ำบัวหงายประกอบทั้ง เบื้องบนเบื้องล่าง ซึ่งฐานปัทมาสน์นี้ได้สร้างเพิ่มเติมในภายหลัง
พระนิรันตรายนี้ กำนันอิน แขวงเมืองปราจีนบุรี และบุตรชาย เป็น ผู้ขุดค้นพบพระนิรันตราย และได้นำไปมอบให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งต่อมาได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเห็นว่าสองคนพ่อลูกมีกตัญญู ต่อพระพุทธศาสนาและพระเจ้าแผ่นดิน จึงทรงพระราชทานรางวัล เงินตรา ๘ ชั่ง พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานอัญเชิญ พระพุทธรูปทองคำนี้ไปรักษาไว้ ณ หอเสถียรธรรมปริตร กับพระกริ่งทองคำ องค์น้อย
เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๓ มีผู้ร้ายลักพระกริ่งองค์น้อยที่ตั้งอยู่คู่กันไป จึงทรง พระราชดำริว่า พระพุทธรูปที่ได้รับการทูลเกล้าฯถวายมาก็เป็นทองคำ ทั้งแท่งใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่ผู้ร้ายจะลักพระพุทธรูปองค์นี้ไป แต่ก็แคล้วคลาด ถึง ๒ ครั้ง อีกทั้งผู้ที่ขุดค้นพบได้ก็ไม่ทำอันตรายเป็นที่อัศจรรย์อยู่ จึงทรง ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระนิรันตราย” อันมีความหมายว่า ปราศจากอันตราย
พระนิรันตราย (องค์ใหม่)
พระพุทธรูปศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ ช่วงปี พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๑๑ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๑.๖๕ ซม. องค์พระสูง ๒๐.๓๐ ซม. วัสดุทองคำ ประทับ นั่งวัชราสนะ แสดงธยานะมุทราโดยพระหัตถ์ขวาช้อนบนพระหัตถ์ซ้ายเหนือ พระเพลา มีพระพักตร์ค่อนข้างกลม พระนลาฏค่อนข้างแคบ พระขนงเป็น รูปปีกกา มีอุณาโลมอยู่ระหว่างพระขนง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เรียว พระกรรณคล้ายมนุษย์สามัญ พระเศียรประดับด้วย ขมวดพระเกศาขนาดเล็ก ปราศจากเกตุมาลาโดยปรากฏรัศมีรูปเปลวไฟ เหนือพระเศียร องค์พระพุทธรูปครองอุตราสงค์จีบเป็นริ้วเหมือนผ้าตาม ธรรมชาติห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา เหนือพระอังสาซ้ายมีสังฆาฏิขนาดใหญ่ พาดทับยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายตัดเป็นเส้นตรง อันตรวาสกมีลักษณะ คล้ายริ้วผ้าตามธรรมชาติเช่นเดียวกับอุตราสงค์ ซึ่งเป็นการครองผ้า อย่างธรรมยุติกนิกาย
พระพุทธรูปประทับนั่งบนปัทมาสน์อันประกอบด้วยกลีบบัวคว่ำและ กลีบบัวหงายเหนือฐานแข้งสิงห์ และฐานเขียงแปดเหลี่ยมซึ่งเป็นที่สำหรับ รับน้ำสรงพระ มีท่อเป็นรูปศีรษะโคอันแสดงเป็นที่หมายพระโคตร ซึ่งเป็น โคตมะอันเป็นแบบที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริ ให้สร้างขึ้น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระนิรันตรายองค์นี้ด้วยทองคำตามพุทธลักษณะสวมพระพุทธรูป นิรันตราย องค์เดิมอีกชั้นหนึ่ง กับทั้งให้หล่อด้วยเงินไล่บริสุทธิ์เป็นคู่กัน อีกองค์หนึ่ง
ปัจจุบันพระนิรันตรายประดิษฐานอยู่ในหอพระสุลาลัยพิมาน ในหมู่พระมหามณเฑียร และได้รับการอัญเชิญเข้าในงานพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น พระราชพิธีหล่อพระพุทธรูป และพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.dailynews.co.th/article/1291/150027