เหรียญพระพุทธ ร.9 72
พรรษา
(6 รอบ) ปี2542 พิธีวัดพระแก้ว พิมพ์ใหญ่ สภาพสวย
พร้อมกล่องเดิมๆ
เหรียญพระสมเด็จพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัฒนมงคล (ในหลวง72 พรรษา) ปี 2542
จัดสร้างโดยสำนักนายกรัฐมนตรี
พิมพ์ใหญ่ ทองคำหนัก 15.6 กรัม
เนื่อง ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๕๔๒ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ได้จัดสร้างวัตถุมงคลพระพุทธรูป
และพระบรมรูปจำลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมกับรัฐบาลในการถวายพระราชกุศล
เนื่องในวโรกาสดังกล่าว รายได้ทั้งหมดนำขึ้นทูลเกล้าฯ
ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระ ราชทานนามโครงการฯ
นี้ว่า “พระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล”หมายถึง
พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในโอกาสอันเป็นมงคลฉลองพระชนมายุครบ ๖ รอบ แห่งพระมหาราชที่
๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่
ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติฯ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จฯแทนพระองค์ในพระราชพิธีเททองหล่อพระ พุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล
ชนิดพระบูชา และพระกริ่ง ณ บริเวณพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
และพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
วันศุกร์ที่ ๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๑ เวลาฤกษ์ ๑๘.๑๙ โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และทรงจุดเทียนชัย พร้อมสมเด็จพระราชาคณะและเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ
วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง
1.เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในวโรกาศเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ
2.เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมกับรัฐบาลในการถวายพระราชกุศล เนื่องในวโรกาศเฉลิมพระชนมพรรษา
6 รอบ
3.เพื่อ จัดสร้างพระบูชา พระเครื่อง สืบเนื่องต่อพระพุทธศาสนา
และบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไว้นำไปสักการะบูชาตามประเพณีแต่โบราณกาล
4.เพื่อเป็นการนำได้รายได้ทั้งหมดขึ้นทูลเกล้าฯ
ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
พิธีการจัดสร้าง
เพื่อให้การจัดสร้างพระตามโครงการฯ
ได้มีความสมบูรณ์พร้อมตามวัตถุประสงค์
การจัดสร้างพระครั้งนี้จึงกำหนดหลักการประกอบด้วย
- ความถูกต้องในพิธีแต่โบราณ
- ความสมบูรณ์พร้อมของมวลสาร ทองชนวนโลหะ ที่นำมาจัดสร้างพระในโครงการฯ
- รูปแบบที่งดงาม
จากหลักการข้างต้น คณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ
จึงได้กำหนดพิธีการให้มี 3 พิธี ด้วยกัน
ก็เพื่อจักได้ถูกต้องสมบูรณ์และศักดิ์สิทธิ์ตามตำราแต่โบราณ
ซึ่งสืบทอดมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนพรัต
พระอาจารย์ของพระนเรศวรมหาราช
1.พิธีพุทธาภิเษกมวลสารพระเนื้อผงและจารแผ่นพระยันต์
พิธี แรกได้จัดขึ้น ณ พระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม ในวันศุกร์ที่ 21
พฤศจิกายน
2540 สำหรับวัสดุมวลสารทั้งที่เป็นผงและโลหะนั้น
คณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ ได้รับความเมตตาอย่างยิ่งจากพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณทั่วประเทศ
จังหวัดละ 9 รูป รวม 684 รูป ส่งมวลสารต่างๆ ที่จะใช้ในการจัดสร้างมาให้ การจัดพิธีครั้งแรก
ณ พระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม นั้น
ก็เพื่อให้บังเกิดความศักดิ์สิทธิ์และมหิทธานุภาพ ดังเช่นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้สร้างพระผงขึ้นและนับเนื่องเป็นหนึ่งในจักรพรรดิของพระเครื่องในชุดเบญจภาคี
2.พิธีเททองและพุทธาภิเษกทองชนวนโลหะ
พิธีที่สอง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนินทรงเททอง และทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ
บริเวณพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันศุกร์ที่
2 มกราคม 2541 เวลาพระฤกษ์ 18.19 น.
และในการนี้ คณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ ได้
นำแผ่นทองคำ นาก และเงิน ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ที่ได้ทรงอธิฐานจิต ทรงเจิม
และทรงพระสุหร่าย เพื่อนำมาหล่อหลอมจัดสร้างเป็นองค์พระในโครงการฯ นี้ สำหรับ
ทองชนวนโลหะที่นำมาจัดสร้างในโครงการ นี้ คณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ
ได้รับการสนับสนุนจากผู้ว่าราชการจังหวัด
ในการนำแผ่นทอง เงิน และทองแดง ถวายแด่พระคณาจารย์ผู้ทรงคุณทั่วประเทศ จังหวัดละ 9
วัดๆ
ละ 3 แผ่น และเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธี รวมเป็นจำนวน 2,599 แผ่น ซึ่งได้จารแผ่นพระยันต์เพื่อพุทธานุภาพ
ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ อย่างถูกต้องตามพิธีโบราณอีกด้วย
3.พิธีมหาพุทธาภิเษกและการพิธีชยมังคลาภิเษก
กำหนดเป็นพิธีที่สาม เมื่อการจัดสร้างพระพุทธรูปบูชาและพระเครื่อง "พระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล" และพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ประกอบพิธี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในราวเดือนพฤศจิกายน 2541 คณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ
จะได้นำความขึ้นการบบังคมทูลเชิญเสด็จต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.jramulet.com/article?id=39191&lang=th