เหรียญพระชัยหลังช้าง พระปรมาภิไธย สก. ปี 2535
พิธีมหาพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ ณ พระอุโบสถ วัดพระแก้ว
เกจิดังทั่วฟ้าเมืองไทยร่วมอธิษฐานจิต (เหรียญแห่งชัยชนะ) วาระ 5 รอบ
พระราชินี *เหรียญนิยม พิธีสุดเข้มขลัง
พบเจอน้อย
พระชัยหลังช้าง
พระพุทธรูปปางมารวิชัยนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ซ้ายถือด้ามพัด หลัง ส.ก.
สร้างเมื่อปี 2535 มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์แท้จริง
พระชัยหลังช้าง
นับเป็นเหรียญยอดนิยม เหรียญดีที่น่าสะสม พุทธคุณดีทางเมตตาคุ้มครอง
โชคลาภก็เป็นเยี่ยม เพราะพระชัยเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะที่ในสมัยโบราณเวลาออกศึกจะอาราธนาท่านขึ้นบนหลังช้างเป็นเคล็ด
และได้ชัยชนะทุกครั้ง
จัดสร้างเนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัย
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 มหาเถระสมาคม
จัดสร้างถวายเพื่อพระราชทานแก่มูลนิธิศิลปาชีพ พิธีมหาชัยมังคลาภิเษก ณ
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
คณะสงฆ์ไทยจัดสร้างถวาย
เมื่อปี 2535 เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.
2535
อาจารย์ที่พุทธาภิเษกหมู่ เจริญพระพุทธมนต์ เกือบ 80 รูป
ขอเอ่ยชื่อเป็นตัวอย่างดังนี้
1
สมเด็จพระสังฆราช(วาส) วัดราชบพิตรฯ
2 สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ( พระสังฆราชองค์ที่ 19)
3 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา
4 สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร
5 สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา
6 พระพรหมคุณาภรณ์ (สมเด็จพุฒาจารย์เกี่ยว)วัดสระเกศ
7 พระมหาวีระ ถาวะโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง) พระของท่าน
ท่านรับรองว่ากันรังสีต่างๆได้ ที่สำคัญ
8 พระอาจารย์ชื้น พุทธสาโร วัดญาณเสน พระของท่าน
ท่านรับรองว่ากันรังสีต่างๆได้ ที่สำคัญ กระดูกกลายเป็นพระธาตุ
9 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
10 หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น
กระดูกกลายเป็นพระธาตุ
11 หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม
12 หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
13 หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
14 หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก
15 หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ
แห่งวัดท่าซุง ท่านยังเคยปรารภแก่ลูกศิษย์ลูกหาไว้ว่า “…เหรียญพระชัยหลังช้างนี้
เป็นหนึ่งในพระดีที่น่าบูชาไว้ติดตัว เพราะมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์แท้จริง”
"พระชัยหลังช้าง"
ก่อนจะได้เรียกดังนี้ พระนามเดิมคือ "พระชัย" หรือ "พระไชย"
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 4ได้ออกพระนามเพิ่มว่า "พระไชยวัฒน์"
ก่อนเปลี่ยนพระนามเป็น "พระชัยวัฒน์" ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงมีพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลทุกพระองค์
มีเพียงรัชกาลที่ 8 ที่ไม่มี ปัจจุบัน พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลทุกพระองค์ ประดิษฐาน ณ
หอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง พระชัยเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
มีลักษณะพิเศษคือเป็นแบบนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในลักษณะถือด้ามพัด
เป็นพระพุทธรูปขนาดย่อมหรือค่อนข้างเล็ก
เพื่อสะดวกเคลื่อนย้ายไปในการพระราชพิธีสำคัญต่างๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพระราชสงคราม
ถ้าเป็นทางสถลมารคจะเชิญขึ้นช้างนำหน้าช้างพระที่นั่ง จึงเรียกว่า
"พระชัยหลังช้าง"
ทางชลมารคก็เชิญลงเรือพระที่นั่งหน้าเรือพระเจ้าอยู่หัวเช่นกัน สันนิษฐานว่าการหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลเป็นราชประเพณีที่ปฏิบัติสืบเนื่องยาวนาน
คือเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงรับบรมราชาภิเษก
ที่ปรากฏในพงศาวดารรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร
มีการเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ไปในงานพระราชสงครามด้วย
บ่งชี้ว่ามีพระชัยมาตั้งแต่รัชกาลนั้นแล้ว